สรุปบทบาทและทิศทางการพัฒนาพื้นที่

               จากการศึกษารวบรวมนโยบาย แผนงานโครงการ และข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ของพื้นที่ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พบว่า บทบาทของเมืองอุดรธานีในปัจจุบันและอนาคตมุ่งเน้นการยกระดับบทบาทเมืองเป็นศูนย์กลางสำคัญในระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ตอนกลางเพื่อให้บริการเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว และประเทศจีนตอนใต้ บนแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนกลางภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS, Central Economic Corridor : CEC) ประกอบกับนโยบายและแผนงานโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งหลายรูปแบบที่มีศักยภาพสูงในระยะสั้นและกลาง (1 – 10 ปี หรือภายในปี พ.ศ. 2575) ครอบคลุมทั้งระบบรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง และท่าอากาศยานนานาชาติหลักระดับประเทศ ภายใต้ศักยภาพ ปัจจัยการพัฒนา และกรอบทิศทางที่สำคัญของพื้นที่ผังเมืองรวมฯ  สามารถสรุปบทบาทของพื้นที่ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี ดังนี้

          1)  ศูนย์กลางเศรษฐกิจการเงิน การลงทุน และการค้าการบริการนานาชาติ (GMS Gateway)

             พื้นที่ผังเมืองรวมฯ มีศักยภาพหลักด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุนระดับภาคต่อเนื่องกับประเทศสมาชิกความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) จากตำแหน่งที่ตั้งเชิงยุทธศาสตร์บนแนวระเบียงเศรษฐกิจสำคัญ CEC และ NeEC ประกอบกับความหลากหลายของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้าการบริการที่มีขนาดการให้บริการในระดับภาค นอกจากนี้ โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประชากรแรงงานและทักษะในภาคเศรษฐกิจมีศักยภาพสูง โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) บนโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีตามแนวคิดการพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” (Smart City) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและระบบเทคโนโลยีด้านการเงิน (Financial Technology, FinTech) รองรับการเงิน การลงทุน และการค้าการบริการที่ได้มาตรฐานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเชื่อมโยงอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS Gateway) ในอนาคต

          2)  ศูนย์กลางการแพทย์และสุขภาพชั้นนำอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Health and Wellness Hub)

               พื้นที่ผังเมืองรวมฯ มีศักยภาพด้านการศึกษาและการสาธารณสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต จากการพัฒนาและยกระดับสถาบันการศึกษา หลักสูตร และบุคลากร รวมถึงโครงการศูนย์การแพทย์ระดับสากลในพื้นที่ ส่งผลดีต่อการพัฒนาบทบาทด้านการการแพทย์เฉพาะทาง และการให้บริการเชิงสุขภาพ สำหรับกลุ่มประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะกลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการพัฒนาร่วมกับการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ การพักฟื้น และการฟื้นฟูสมรรถนะในระยะยาว โดยผนวกรวมกับองค์ความรู้และภูมิปัญญาพื้นถิ่น ทรัพยากร บุคลากร และความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและระบบการคมนาคมเดินทางที่มีศักยภาพเชื่อมโยงกับพื้นที่โดยรอบและตลาดขนาดใหญ่ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้

          3)  ประตูการท่องเที่ยวสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS and MICE Destination)

               พื้นที่ผังเมืองรวมฯ ในอนาคตมีบทบาทสำคัญเป็นศูนย์กลางและจุดหมายการเดินทางสำคัญสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) จากศักยภาพด้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ธรรมชาติ และการประชุมสัมมนาหลักของภูมิภาค รวมถึงการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวทางเลือกในอนาคตร่วมกับศักยภาพด้านการแพทย์และสุขภาพ โดยมีแผนงานโครงการสำคัญเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวของเขตผังเมืองรวมฯ ที่สำคัญในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2566 – 2570 ได้แก่ มหกรรมพืชสวนโลก พ.ศ. 2569 (บริเวณหนองแด ตำบลกุดสระ) และศูนย์การแพทย์พระบรมราชชนก อุดรธานี รวมถึงกิจกรรมต่อเนื่องและโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว ทั้งด้านที่พัก การคมนาคมเดินทางหลายรูปแบบ และบุคลากรรองรับด้านการท่องเที่ยวและการบริการที่มีแนวโน้มขยายตัวและพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคต

          4)  ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งหลายรูปแบบนานาชาติ (International Multimodal Hub)

                พื้นที่ผังเมืองรวมฯ มีศักยภาพในเชิงที่ตั้งยุทธศาสตร์เชื่อมโยงกับจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้งโครงข่ายเส้นทางถนน ระบบรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง และท่าอากาศยานนานาชาติ ซึ่งสามารถพัฒนาระบบโครงข่ายเชื่อมโยงเพื่อการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางและคมนาคมขนส่งภายในพื้นที่เขตผังเมืองรวมฯ ได้ ภายในกรอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งและโครงการในอนาคตระหว่างปี พ.ศ. 2566 – 2575 (ระยะสั้น – กลาง) โดยมีปัจจัยเชิงบวกจากกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศและการค้าเสรีระหว่างประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน ทุน และทรัพยากรได้สะดวกยิ่งขึ้น ประกอบกับระบบคมนาคมเดินทางในประเทศเพื่อนบ้านตาม “ความริเริ่มแถบและเส้นทาง” (Belt and Road Initiative, BRI) โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟ สปป.ลาว – จีนที่เปิดใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 และมีแนวโน้มขยายตัวของการเดินทางและขนส่งเพิ่มขึ้นในอนาคต

          5)  เขตอุตสาหกรรมชีวภาพและโลจิสติกส์สีเขียวแนวระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) (Green Industrial and Logistics Cluster)

               ภายใต้นโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและโลจิสติกส์ระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ตามกรอบการพัฒนา “ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” (NeEC) และสิทธิประโยชน์เพื่อสนับสนุนบทบาทเขตผังเมืองรวมฯ ร่วมกับนโยบายดังกล่าว ส่งผลดีต่อบทบาทด้านอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตร โดยเฉพาะพืชหลังงานในเขตจังหวัดอุดรธานีและพื้นที่โดยรอบ ประกอบกับการพัฒนาเขตนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีและแผนงานโครงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งทางถนนและระบบราง แผนพัฒนาพลังงานของประเทศ (PDP 2018) ที่มีการสนับสนุนการพัฒนาพลังงานทางเลือกเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ และการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรรองรับภายใต้การพัฒนาสถาบันการศึกษาขั้นสูงในเขตผังเมืองรวมฯ

     ทั้งนี้ จากทิศทางการพัฒนาพื้นที่ผังเมืองรวมฯ ตามกลยุทธ์ต่างๆ ข้างต้น แสดงให้เห็นบทบาทที่มีศักยภาพ และควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สามารถรองรับการพัฒนาพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตได้ โดยสามารถสรุปบทบาทการพัฒนาพื้นที่ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานีได้เป็น 2 ลักษณะหลัก ดังนี้

     (1) บทบาทและทิศทางการพัฒนาเชิงรุก จากนโยบายและปัจจัยภายนอกที่ส่งเสริม ผนวกกับศักยภาพภายในที่มีความเข้มแข็งและมีแนวโน้มที่ดี ได้แก่

            (1.1)     เมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจนานาชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จากศักยภาพด้านที่ตั้ง บทบาทการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และนโยบายแผนงานโครงการต่างๆ ที่มีศักยภาพและสามารถยกระดับพื้นที่ผังเมืองรวมฯ เพื่อรองรับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจการค้าการลงทุนในแนวระเบียงเศรษฐกิจระดับประเทศและนานาชาติ ทั้งระเบียงเศรษฐกิจตอนกลางของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS CEC) และระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) รวมถึงให้บริการพื้นที่กลุ่มจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนสอดคล้องกับทิศทากงการพัฒนาในระดับประเทศและภาคที่กำหนดเป้าหมายไว้ในอนาคต

          (1.2)    เมืองศูนย์กลางการศึกษาและสาธารณสุขขั้นสูง จากนโยบายและแผนงานโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาลาธารณสุขในพื้นที่เขตผังเมืองรวมฯ อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาและสาธารณสุขในปัจจุบัน ส่งผลดีต่อการพัฒนาบทบาทเขตผังเมืองรวมฯ สู่ “ศูนย์กลางการศึกษาและสาธารณสุขขั้นสูง” เพื่อรองรับการพัฒนาของจังหวัดและประเทศไทยในด้านการศึกษาและการแพทย์ชั้นนำ ควบคู่กับการปรับตัวสู่การให้บริการด้านการรักษาและการฟื้นฟูสุขภาพ (Wellness and Rehabilitation Services) รองรับความต้องการทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

          (1.3)    เขตพัฒนาอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์สีเขียว รองรับการพัฒนาตามนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) จากศักยภาพด้านการผลิตอุตสาหกรรมภายในเขตผังเมืองรวมฯ และการเชื่อมโยงกับพื้นที่แหล่งวัตถุดิบพืชเศรษฐกิจสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ  พลังงานทดแทน และการแปรรูปผลผลิตการเกษตร ร่วมกับการพัฒนาบทบาทด้านโลจิสติกส์ร่วมกับโครงการเส้นทางรถไฟรางคู่ (คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2573) เชื่อมโยงกับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ภายใต้กรอบการค้าเสรีที่มีความสมบูรณ์และเชื่อมโยงได้อย่างไร้รอยต่อในอนาคต

          (1.4)    ศูนย์กลางการคมนาคมเดินทางสู่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง จากนโยบายและแผนงานโครงการพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่งทางบกและทางอากาศอย่างต่อเนื่องในระยะสั้น – กลาง (พ.ศ. 2566 – 2575) ทั้งโครงการรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR2) และการขยายท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ส่งผลต่อศักยภาพในการยกระดับเขตผังเมืองรวมฯ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมเดินทางและขนส่งระหว่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) และพื้นที่ภาคมหานคและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

     (2) บทบาทและทิศทางการพัฒนาเชิงป้องกันและแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและปัจจัยที่ได้รับการส่งเสริมและมีศักยภาพ แม้ว่าจะมีข้อจำกัดหรือสภาพปัญหาในการดำเนินการ

            (2.1)     การรองรับสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) จากแนวโน้มการขยายตัวของประชากรที่ลดลงและประชากรมีอายุขัยยืนยาวขึ้น โดยเขตผังเมืองรวมฯ มีแนวโน้มเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aging Society) ในช่วงปี พ.ศ. 2571 – 2575 ส่งผลต่อการพัฒนาและขยายตัวของเศรษฐกิจ จากสัดส่วนประชากรวัยพึ่งพิงที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การพัฒนาศักยภาพแรงงานปัจจุบันและอนาคต รวมถึงการพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อรองรับกลุ่มประชากรผู้สูงอายุ มีความสำคัญต่อการพัฒนาเมืองและชุมชนในอนาคต

          (2.2)    การพัฒนาคุณภาพประชากร จากสภาพการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งดึงดูดให้ประชากรแรงงานโยกย้ายเข้าสู่เขตเมืองและแหล่งงานนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มประชากรวัยแรงงานที่ลดลง ส่งผลให้มีแนวโน้มขาดแคลนแรงงานในพื้นที่เขตผังเมืองรวมฯ มากขึ้น โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม ทั้งนี้ การรักษาและพัฒนาคุณภาพแรงงาน ควบคู่กับการส่งเสริมแหล่งงานที่มีศักยภาพในพื้นที่อย่างสมดุลระหว่างภาคเกษตรกรรมและนอกภาคเกษตรกรรม ทั้งภาคการค้าการบริการและการท่องเที่ยว และภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่มีความจำเป็น เพื่อสร้างทุนในภาคการผลิตที่มีศักยภาพ สอดคล้องกับความต้องการและทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของเขตผังเมืองรวมฯ ในอนาคต

          (2.3)    การพัฒนาเมืองยั่งยืน เพื่อเตรียมการรองรับและบริหารจัดการปัจจัยเสี่ยงภัยจากสภาพภูมิศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความเสี่ยงภัยพิบัติทางธรรมชาติและกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและแหล่งทรัพยากรในพื้นที่ผังเมืองรวมฯ ซึ่งการกำหนดมาตรการเพื่อบริการจัดการและรักษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่ผังเมืองรวมฯ นับเป็นเรื่องเร่งด่วนและมีความสำคัญ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัจจัยเสี่ยงในการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

          (2.4)    การพัฒนาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ จากการขยายตัวของประชากรและชุมชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมในพื้นที่ผังเมืองรวมฯ ในอนาคต โดยการขยายตัวของประชากรในพื้นที่ส่วนขยายตัวของเมืองและแหล่งกิจกรรมโดยรอบในพื้นที่ผังเมืองรวมฯ ทั้งบริเวณส่วนขยายตัวรอบเทศบาลนครอุดรธานี ย่านการศึกษาและสาธารณสุขบริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว และนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีบริเวณเทศบาลเมืองโนนสูง – น้ำคำและเทศบาลตำบลหนองไผ่ ส่งผลต่อการให้บริการขั้นพื้นฐานในระยะยาว โดยเฉพาะสาธารณูปโภคและสาธารณูปการด้านต่างๆ และการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมชุมชน โดยเฉพาะการให้บริการขั้นพื้นฐาน และการจัดการขยะและของเสีย ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาพื้นที่และรองรับการขยายตัวอย่างเหมาะสมในอนาคต

แนวคิดในการวางผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี

          1)  แนวคิดด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน

               แนวคิดด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบเมืองของผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี กำหนดตามโครงสร้างการใช้ประโยชน์ที่ดินหลัก 3 ประเภท ได้แก่ พื้นที่สงวนรักษา พื้นที่อนุรักษ์ และพื้นที่พัฒนา และการพัฒนาบทบาทเมืองตามลำดับศักดิ์และแนวโน้มการพัฒนาเมืองและชุมชนในอนาคต ตามรายละเอียดดังนี้

               (1) พื้นที่สงวนรักษา ประกอบด้วย พื้นที่ที่มีความสำคัญทางนิเวศวิทยา และพื้นที่สงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ ป่าไม้ต้นน้ำ เขตอนุรักษ์คุ้มครองทรัพยากรสัตว์ป่า และเขตโบราณสถาน

                    พื้นที่เหล่านี้จะต้องได้รับการปกป้องและสงวนรักษาอย่างเข้มงวดและมีประสิทธิภาพ กำหนดแนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดินมุ่งเน้นการกำหนดขอบเขตพื้นที่สงวนรักษาและบริเวณต่อเนื่อง มาตรการเพื่อรักษาคุณค่าและการป้องกันผลกระทบจากการใช้ประโยชน์แหล่งทรัพยากรและบริเวณโดยรอบ โดยการผนวกมาตรการทางผังเมืองร่วมกับกฎระเบียบในการควบคุมดูแลพื้นที่สงวนรักษาต่างๆ การกำหนดขอบเขตพื้นที่สงวนรักษา และพื้นที่กันชนหรือพื้นที่รองรับกิจกรรมที่มีความจำเป็นอย่างเหมาะสม และการควบคุมประเภทกิจกรรมในพื้นที่กันชนหรือพื้นที่รองรับกิจกรรมดังกล่าว

               (2) พื้นที่อนุรักษ์ ประกอบด้วย พื้นที่ที่มีความสำคัญเชิงนิเวศและพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมระดับชุมชน พื้นที่เกษตรกรรมชั้นดี พื้นที่แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และพื้นที่รับและระบายน้ำ

                    พื้นที่เหล่านี้มีความสำคัญทั้งการรักษาสภาพแวดล้อมและเป็นฐานทรัพยากรเพื่อใช้ประโยชน์รองรับกิจกรรมชุมชน ทั้งนี้จะต้องได้รับการบำรุงรักษาให้คงคุณค่าและรักษาสมดุลของการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดแนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดินของพื้นที่อนุรักษ์ ได้แก่ การป้องกันผลกระทบจากการพัฒนาต่อพื้นที่ดังกล่าวรวมถึงบริบทโดยรอบ กำหนดกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณดังกล่าวอย่างระมัดระวัง และกำหนดมาตรการบำรุงรักษา ฟื้นฟู และเชื่อมโยงพื้นที่ดังกล่าวร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและใช้ประโยชน์พื้นที่ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการรักษาสภาพแวดล้อม การป้องกันบรรเทาภัยธรรมชาติ การนันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจ การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน และการท่องเที่ยวทางเลือก

รูปแนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบเมือง ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี

(3)      พื้นที่พัฒนา ประกอบด้วยพื้นที่ 6 บริเวณหลัก ดังนี้

                    (3.1)    พื้นที่ชุมชนเมือง ได้แก่ พื้นที่ชุมชนเมืองในปัจจุบัน และพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นเมืองในอนาคต ประกอบด้วยการใช้ประโยชน์ที่ดินหลักประเภทย่านที่อยู่อาศัย ย่านพาณิชยกรรมการค้าการบริการ สาธารณูปโภค สาธารณูปการ และพื้นที่โล่งว่างในเขตชุมชนเมือง มีบทบาทเป็นพื้นที่พัฒนาหลักเพื่อรองรับประชากรและกิจกรรมเขตเมืองที่ขยายตัวในอนาคตได้อย่างเพียงพอและเหมาะสม สอดคล้องกับประสิทธิภาพในการให้บริการของโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ และสามารถป้องกันบรรเทาปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งถิ่นฐานได้ โดยมีแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองและชนบทปัจจุบันและอนาคตที่มีศักยภาพ ได้แก่ การกำหนดขอบเขตพื้นที่พัฒนาเมืองที่สอดคล้องกับแนวโน้มและการขยายตัวของประชากรและกิจกรรมที่คาดการณ์ในอนาคต ลักษณะกายภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่อเนื่องจากปัจจุบันเพื่อให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับนโยบายแผนงานโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ

                        ทั้งนี้ ในภาพรวมของเขตผังเมืองรวมฯ มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเมืองและชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพในขอบเขตที่กำหนดเป็นหลัก ร่วมกับการกระจายบทบาทและเชื่อมโยงกิจกรรมระหว่างเมืองลำดับศักดิ์ต่างๆ ภายใต้โครงข่ายบริการขั้นพื้นฐานและการคมนาคมขนส่งที่ครอบคลุม ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับระบบเมืองและชุมชนตามแนวคิด “ทฤษฎีแหล่งกลาง” (Central Place Theory)

                    (3.2)    พื้นที่ย่านกิจกรรมใหม่ตามแผนงานโครงการขนาดใหญ่ ได้แก่ พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนากิจกรรมต่อเนื่องกับแผนงานโครงการขนาดใหญ่ ทั้งโครงการรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง สถาบันการแพทย์และการศึกษาขั้นสูง แหล่งการท่องเที่ยวและงานมหกรรมพืชสวนโลก และนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี โดยกำหนดแนวคิดส่งเสริมการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่มีศักยภาพรองรับกิจกรรมเป้าหมาย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับกิจการเป้าหมายแต่ละบริเวณ และมาตรการป้องกันผลกระทบจากการพัฒนาดังกล่าวต่อสภาพแวดล้อมและชุมชนโดยรอบ

                    (3.3)    พื้นที่ชุมชนชนบท ได้แก่ พื้นที่ชุมชนชนบทในอนาคตเของเขตผังเมืองรวมฯ มุ่งเน้นการพัฒนาย่านศูนย์กลางชุมชนเพื่อให้บริการประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเพียงพอและได้มาตรฐาน รองรับการเชื่อมโยงและกระจายการบริการสู่พื้นที่เขตการปกครองได้

                    (3.4)    พื้นที่พัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่ พื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ทั้งย่านชุมชนดั้งเดิม แหล่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรม และศาสนสถาน รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ในพื้นที่เขตผังเมืองรวมฯ กำหนดแนวคิดการพัฒนาพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมรองรับในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายการเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวอย่างเหมาะสมและยั่งยืน บนพื้นฐานการรักษาคุณค่าแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยว การมีส่วนร่วมของชุมชน และสามารถกระจายผลประโยชน์ได้อย่าทั่วถึง

                    (3.5)    พื้นที่ย่านการผลิตและโลจิสติกส์ ได้แก่ พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีและย่านส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต รวมถึงพื้นที่รองรับการพัฒนาโลจิสติกส์ มุ่งเน้นให้เกิดการรวมกลุ่มการผลิต (Cluster) ทั้งอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ภายใต้แนวคิดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เป็นหลักบนพื้นฐานทรัพยากรในพื้นที่ผังเมืองรวมฯ และพื้นที่ต่อเนื่อง รองรับการพัฒนานวัตกรรมและการวิจัย และการพัฒนาคุณภาพแรงงานและบุคลากรรองรับความต้องการการผลิตในอนาคต และสามารถบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและผลกระทบต่อพื้นที่โดยรอบได้อย่างเหมาะสมจากการรวมกลุ่มของกิจกรรมการผลิตในเชิงพื้นที่เป้าหมาย

                    (3.6)    พื้นที่เกษตรกรรม ได้แก่ ในพื้นที่ผังเมืองรวมฯ มุ่งเน้นส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม การรักษาสภาพแวดล้อมรอบเขตเมืองและชุมชน การป้องกันบรรเทาภัยพิบัติ และรองรับกิจกรรมการให้บริการในเขตผังเมืองรวมฯ โดยเฉพาะกิจการสาธารณูปโภค

          2แนวคิดด้านระบบเมือง

               แนวคิดด้านระบบเมืองและชุมชนพื้นที่ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี มุ่งเน้นการพัฒนาบทบาทเมืองและย่านกิจกรรมหลักร่วมกับพื้นที่ต่อเนื่องตามแนวคิด “เมืองและปริมณฑล” (City – Region Concept) ควบคู่กับการเชื่อมโยงและกระจายบทบาทในระบบเมืองและชุมชนตามทฤษฎีแหล่งกลาง (Central Place Theory) เพื่อยกระดับการพัฒนาพื้นที่ชุมชนรองและย่อยตามศักยภาพและบทบาทได้ ส่งผลให้ทิศทางและบทบาทของแต่ละท้องถิ่นมีความชัดเจนภายใต้ศักยภาพและข้อจำกัดของแต่ละท้องถิ่น โดยมีแนวคิดด้านระบบเมืองและชุมชนต่างๆ ดังนี้

                  (1)  เมืองศูนย์กลางหลัก (Core Urban Area) ได้แก่ พื้นที่กลุ่มเมืองหลักบริเวณเมืองลำดับที่ 1 ได้แก่ เทศบาลนครอุดรธานี และพื้นที่ส่วนขยายตัวบริเวณองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรอบ กำหนดบทบาทพื้นที่เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจและการบริการระดับจังหวัดและภาค และระดับนานาชาติในระยะยาว สามารถรองรับกิจกรรมเชื่อมโยงกับเมืองศูนย์กลางรองและศูนย์กลางระดับต่างๆ ในพื้นที่ผังเมืองรวมฯ และโดยรอบได้โดยสอดคล้องกับศักยภาพและการคาดการณ์ในอนาคต ทั้งด้านที่อยู่อาศัย กิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเงิน การบริหารปกครอง การศึกษาและการสาธารณสุข การคมนาคมเดินทาง และการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับประชากรและกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                 (2) เมืองศูนย์กลางรอง (Minor Urban Areas) ได้แก่ ชุมชนเมืองลำดับที่ 2 และ 3 ทั้งในลักษณะเมืองเดี่ยวและกลุ่มเมือง ได้แก่ เทศบาลเมืองโนนสูง – น้ำคำ เทศบาลตำบลนาข่า เทศบาลตำบลนิคมสงเคราะห์ และองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว ส่งเสริมบทบาทเมืองและพื้นที่กลุ่มเมืองดังกล่าวให้มีศักยภาพรองรับการพัฒนาต่อเนื่องกับศูนย์กลางหลัก โดยกำหนดพื้นที่และย่านกิจกรรมรองรับกิจกรรมด้านที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจ บทบาทเฉพาะด้านในพื้นที่ และการให้บริการขั้นพื้นฐานได้อย่างทั่วถึงและเชื่อมโยงกับเมืองศูนย์กลางหลักหรือย่านกิจกรรมเฉพาะด้านอย่างมีประสิทธิภาพ

               (3) เมืองศูนย์กลางย่อย และชุมชนชนบท (Sub Urban Areas/Rural Nodes) ได้แก่ ชุมชนเมืองลำดับที่ 3 และชุมชนชนบท กำหนดบทบาทการพัฒนาเมืองและชุมชนบนพื้นฐานการพัฒนาขั้นพื้นฐานด้านที่อยู่อาศัย การพาณิชย์ และการให้บริการขั้นพื้นฐานที่ได้มาตรฐานและยั่งยืน สำหรับให้บริการในพื้นที่เขตการปกครองและและย่านกิจกรรมที่มีศักยภาพด้านต่างๆ ในพื้นที่ โดยเฉพาะกิจกรรมภาคเกษตรกรรม ควบคู่กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมโยงกับเมืองศูนย์กลางหลัก ย่านกิจกรรมหลัก และแหล่งงานสำคัญในเขตผังเมืองรวมฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               (4) ย่านกิจกรรมบทบาทเฉพาะ (Nodes) ได้แก่ ย่านการผลิตอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ในพื้นที่เทศบาลเมืองโนนสูง – น้ำคำ และเทศบาลตำบลหนองไผ่ และย่านสถาบันการศึกษาและการแพทย์ขั้นสูง ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว โดยพัฒนาบทบาทพื้นที่รองรับกิจกรรมต่อเนื่องกับกิจการหลักดังกล่าวอย่างเพียงพอและได้มาตรฐาน เพื่อรองรับกิจกรรมและผู้ใช้งานพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการอยู่อาศัย การค้าและการบริการ รวมถึงการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันผลกระทบจากกิจกรรมที่มีรูปแบบและความต้องการเฉพาะกับพื้นที่โดยรอบ

          3)  แนวคิดด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์

               แนวคิดด้านระบบคมนาคมและขนส่งของพื้นที่ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี กำหนดตามศักยภาพด้านระบบโครงข่ายคมนามขนส่งที่มีโครงข่ายด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญหลายรูปแบบ ประกอบด้วย ระบบถนนโครงข่าย ระบบขนส่งสาธารณะ ระบบขนส่งทางราง และระบบขนส่งทางอากาศ (ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี) ที่สามารถเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่องหลายรูปแบบ รวมถึงมีศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาด้านระบบคมนาคมขนส่งอย่างมาก โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

(1)      แนวคิดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายสายประธาน ให้รองรับปริมาณการขนส่งระหว่างเมืองให้สมบูรณ์

                       พื้นที่ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี มีระบบถนนโครงข่ายสายประธานมีหน้าที่รองรับปริมาณการเดินทางของประชาชนและระบบโลจิสติกส์ร่วมกัน มีถนนสายประธานจำนวน 4 สายทาง ประกอบด้วย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 เป็นถนนแนวทิศเหนือ-ทิศใต้ บนแนวระเบียงเศรษฐกิจหลัก Central corridor ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 เป็นถนนแนวทิศตะวันออก เชื่อมต่อแนวระเบียงเศรษฐกิจจังหวัดอุดรธานี – สกลนคร – นครพนม ทางหลวงแผ่นดินหมาเลข 210 เชื่อมต่อแนวจังหวัดอุดรธานี – หนองบัวลำภู ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 216 เป็นถนนแนววงแหวนรอบศูนย์กลางของจังหวัดอุดรธานี โดยปัจจุบันถนนสายประธานมีแหล่งกำเนิดกิจกรรมหนาแน่นเกาะตัวตามแนวเส้นทางและแหล่งกำเนิดกิจกรรมมีแนวโน้มเติบโตหนาแน่นมากขึ้น ทำให้เกิดความล่าช้าบนถนนโครงข่ายระหว่างเมือง ดังนั้น การพัฒนาถนนวงแหวนรอบที่ 2 ที่เชื่อมต่อระบบถนนสายประธานแนววงแหวนรอบที่ 2 จะสามารถป้องกันปัญหาความล่าช้าได้ แต่ถนนแนววงแหวนรอบที่ 2 ต้องมีการควบคุมไม่ให้มีการก่อสร้างแหล่งกำเนิดกิจกรรมเกาะตามแนวสายทาง เพื่อรักษาความสามารถในการเคลื่อนที่บนถนนให้เหมาะสม นอกจากนั้นแนวถนนวงแหวนรอบที่ 2 จะเชื่อมต่อพื้นที่โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีและพื้นที่รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ บริเวณเทศบาลเมืองโนนสูง – น้ำคำ เทศบาลตำบลหนองขอนกว้าง เทศบาลตำบลหนองไผ่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองนาคำ และองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถเชื่อมต่อบริเวณสถานีรถไฟหนองตะไก้ ที่มีโอกาสพัฒนาเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทางรางได้สะดวก ป้องกันปัญหาพาหนะขนาดใหญ่กระทบต่อพื้นที่ชุมชน

               (2)    แนวคิดการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งบริเวณพื้นที่ศูนย์กลางหลัก

                       พื้นที่ศูนย์กลางหลักส่วนใหญ่จะเป็นเขตเทศบาลนครอุดรธานีที่มีการให้บริการด้านการเดินทางของประชาชนมากกว่าระบบโลจิสติกส์ มีระบบคมนาคมขนส่งหลายรูปแบบให้บริการทั้งทางระบบถนนโครงข่าย ระบบราง ระบบขนส่งทางอากาศ และระบบขนส่งสาธารณะ โดยมีแนวคิดในการพัฒนาดังนี้

                       Ÿ ระบบถนนโครงข่าย พื้นที่ศูนย์กลางหลักมีถนนสายหลักที่เชื่อมต่อกับแนวถนนสายประธาน ประกอบด้วย ถนนแนวทิศเหนือ – ทิศใต้ คือ ถนนทหาร – ถนนอุดรดุษฎี ถนนแนวทิศตะวันออก คือ ถนนนิตโย ส่วนถนนแนวทิศตะวันตก พบว่า ไม่มีถนนสายหลักในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการพัฒนาถนนโครงข่ายสายหลักแนวทิศตะวันตกให้เชื่อมต่อถนนทหาร – ถนนอุดรดุษฎี กับทางหลวงแผ่นดินหมาเลข 216 ตามแนวถนนสาย ค 7 ตามผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. 2553 จะเพิ่มศักยภาพการเชื่อมต่อถนนโครงข่ายสายหลักให้ดีขึ้นได้ และสามารถเชื่อมต่อกับท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีได้สะดวกมากขึ้น ส่วนบริเวณอื่นในพื้นที่ศูนย์กลางหลักจะมีจำกัดในการพัฒนาถนนโครงข่าย เนื่องจากมีการขยายตัวของอาคาร มีการใช้ประโยชน์ที่ดินหนาแน่นมากเกือบเต็มพื้นที่

                       Ÿ ระบบราง มีสถานีรถไฟอุดรธานีจะเป็นตำแหน่งสำคัญที่รองรับปริมาณการเดินทางของประชาชนระหว่างเมืองและการเดินทางภายในเมือง การเชื่อมต่อสถานีรถไฟมีถนนสายหลัก 2 สาย คือ ถนนประจักษ์ศิลปาคม และถนนทองใหญ่ ที่ตั้งของสถานีรถไฟอยู่บริเวณศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรมหนาแน่น ไม่สามารถขยายหรือก่อสร้างถนนเพื่อเพิ่มศักยภาพการเข้าถึงพื้นที่สถานีได้ ดังนั้นการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีมาตรฐานระดับสากลให้เชื่อมต่อกับพื้นที่สถานีกับพื้นที่โดยรอบได้สะดวก รวดเร็ว จะเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนา การขนส่งผู้โดยสารผ่านระบบราง

                       Ÿ ระบบขนส่งทางอากาศ ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์กลางหลักของพื้นที่ การเชื่อมต่อท่าอากาศยานด้วยระบบถนนโครงข่ายจะมีข้อจำกัดกรณีที่เดินทางกับศูนย์กลางหลัก เพราะมีเพียงระบบถนนสายรองที่ผ่านเขตชุมชนหนาแน่นให้บริการ ดังนั้นการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่มีมาตรฐานระดับสากลให้เชื่อมต่อกับพื้นที่ท่าอากาศยานกับพื้นที่ศูนย์กลางหลักได้สะดวก รวดเร็ว จะเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาการขนส่งผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน

                       Ÿ ระบบขนส่งสาธารณะ ปัจจุบันมีระบบขนส่งสาธารณะให้บริการในพื้นที่ศูนย์กลางหลักหลายเส้นทาง แต่การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้ได้มาตรฐานสากลที่เชื่อมต่อกับ สถานีขนส่งผู้โดยสาร – สถานีรถไฟอุดรธานี – ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี จะเพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายผู้โดยสารระหว่างเมืองกับผู้โดยสารภายในเมืองได้อย่างเหมาะสม นอกจากนั้นควรขยายการให้บริการไปยังบริเวณศูนย์กลางรองที่สำคัญโดยรอบตามแนวรัศมี

                  (3)     แนวคิดการพัฒนาระบบถนนโครงข่ายเพื่อรองรับการขยายตัวของการใช้ประโยชน์ที่ดินจากศูนย์กลางหลัก

                       การขยายตัวของเมืองอุดรธานีส่วนใหญ่จะขยายออกตามแนวรัศมีจากแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 216 โดยบริเวณเทศบาลเมืองหนองสำโรง เทศบาลตำบลหนองบัว และองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว มีแนวโน้มการขยายตัวสูง ร่วมกับการขยายตัวตามแนวถนนสายสำคัญ ดังนั้น ต้องมีการพัฒนาระบบถนนโครงข่ายสายหลักหรือถนนโครงข่ายสายรองเพื่อรองรับกับแนวโน้มการขยายตัวของเมือง ให้พื้นที่มีศักยภาพในการเข้าถึงได้ดีขึ้น ไม่เกิดเป็นพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่ ประกอบด้วย

                       Ÿ การพัฒนาถนนโครงข่ายทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของศูนย์กลางหลัก บริเวณเทศบาลเมืองหนองสำโรงให้สามารถเชื่อมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2263 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ได้สะดวก

                       Ÿ การพัฒนาถนนโครงข่ายทางด้านทิศใต้ของศูนย์กลางหลัก ตามแนวขนานทางด้านทิศตะวันตกของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 บริเวณ เทศบาลตำบลบ้านจั่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจั่น องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสูง ให้สามารถเชื่อมต่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 216 ได้สะดวก

                       Ÿ การพัฒนาถนนโครงข่ายทางด้านทิศตะวันออกของศูนย์กลางหลัก บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว เทศบาลตำบลหนองบัว เทศบาลตำบลหนองขอนกว้าง ให้สามารถเชื่อมต่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2410 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 216 และโครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองอุดรธานี รอบที่ 2 ได้สะดวก

               (4)    แนวคิดการพัฒนาระบบถนนโครงข่ายเพื่อรองรับการขยายตัวของศูนย์กลางรอง

                       การพัฒนาระบบบถนนโครงข่ายเพื่อรองรับการขยายตัวของศูนย์กลางรองในพื้นที่ผังเมืองรวมฯมี 2 บริเวณ คือ บริเวณเทศบาลตำบลนาข่า ที่ระบบถนนสายรองต้องเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ทางด้านทิศตะวันออกได้อย่างสะดวก และบริเวณเทศบาลตำบลนิคมสงเคราะห์ ที่ระบบถนนสายรองต้องเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210 ด้านทิศเหนือได้สะดวก

          4)  แนวคิดด้านพื้นที่โล่ง

               พื้นที่ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี (ปรับปรุงครั้งที่ 3) มีบทบาทความสำคัญและทิศทางการพัฒนาเป็นเมืองศูนย์กลางหลักระดับจังหวัดและภาคที่ได้มาตรฐานและยั่งยืน ภายใต้แนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบเมืองที่มีโครงข่ายเชื่อมโยงตามบทบาทหน้าที่และขอบเขตการให้บริการอย่างเหมาะสมเพียงพอ ทั้งนี้ การพัฒนาสภาพแวดล้อมและพื้นที่โล่งภายใต้บทบาทและแนวคิดดังกล่าวมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาและเชื่อมโยงพื้นที่โล่งว่างในพื้นที่ผังเมืองรวมฯ ปัจจุบันและอนาคตที่มีศักยภาพ (เสนอแนะเพิ่มเติม) สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบเมือง เพื่อยกระดับและพัฒนาสภาพแวดล้อมในเขตผังเมืองรวมฯ ที่ได้มาตรฐาน เพียงพอ สามารถเข้าถึงและให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการกระจายตัวของประชากรและกิจกรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงรักษาสภาพแวดล้อมแหล่งทรัพยากรสำคัญและมีคุณค่าของพื้นที่ผังเมืองรวมฯ ได้ โดยกำหนดแนวคิดการพัฒนาและส่งเสริมพื้นที่โล่งว่างของพื้นที่ผังเมืองรวมฯ ได้ ดังนี้

               (1) ส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่โล่งว่างระดับย่านชุมชน (Neighborhood) ที่มีศักยภาพ ได้แก่ การพัฒนาพื้นที่โล่งว่างบริเวณแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ แหล่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรม สถานที่สาธารณะ และพื้นที่สาธารณประโยชน์ที่มีศักยภาพในพื้นที่ย่านชุมชน ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาสภาพแวดล้อม สภาพภูมิทัศน์ และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ย่านชุมชน (Neighborhood) โดยรอบที่โล่งว่างดังกล่าวในระยะ 500 – 1,000 เมตร โดยรอบ โดยมีพื้นที่เป้าหมายประกอบด้วย พื้นที่แหล่งน้ำ พื้นที่ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม พื้นที่โล่งว่างในศาสนสถาน สถานศึกษา และหน่วยงานราชการ และพื้นที่โล่งว่างสาธารณประโยชน์ในที่ดินของรัฐในพื้นที่เมืองและชุมชนระดับต่างๆ

               (2) ส่งเสริมการกระจายพื้นที่โล่งว่างในเขตผังเมืองรวมฯ ลักษณะพื้นที่โล่งว่างขนาดเล็ก (Pocket Open Space) และโครงข่ายพื้นที่สีเขียวและฟ้า (Green and Blue Network) พื้นที่เมืองศูนย์กลางหลักที่กำหนด โดยมีพื้นที่เป้าหมายประกอบด้วย ที่โล่งว่างบริเวณที่ดินของรัฐและเอกชน และแนวโครงข่ายการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะแนวถนนสายหลักเชื่อมโยงภายในและระหว่างเทศบาลนครอุดรธานีและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยรอบ แนวรางรถไฟ และแหล่งน้ำในพื้นที่ ได้แก่ ถนนโพศรี ถนนประจักษ์ศิลปาคม ถนนศรีสุข ถนนนิตโย แนวทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ห้วยหมากแข้ง ห้วยมั่ง และห้วยดาน เพื่อลดภาระการจัดหา พัฒนา และบริหารจัดการพื้นที่โล่งว่างขนาดใหญ่ในระยะยาว สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สีเขียว

รูปแนวคิดด้านพื้นที่โล่ง

            (3)  พัฒนาโครงข่ายพื้นที่โล่งว่าง (Open Space Network) ที่สอดคล้องกับลักษณะทางภูมิศาสตร์และระบบนิเวศ โดยเฉพาะพื้นที่โล่งว่างบริเวณแหล่งน้ำต่าง ๆ โดยเฉพาะกลุ่มพื้นที่แหล่งน้ำขนาดใหญ่ (พื้นที่ตั้งแต่ 200 ไร่ขึ้นไป) และแหล่งน้ำขนาดต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันตามแนวลำน้ำธรรมชาติและสภาพภูมิศาสตร์ในเขตผังเมืองรวมฯ โดยมีพื้นที่เป้าหมายประกอบด้วย

                    (3.1)    พื้นที่เขตเมืองศูนย์กลางหลัก ได้แก่ โครงข่ายพื้นที่โล่งว่างบริเวณหนองประจักษ์ บริเวณหนองบัว บริเวณหนองสำโรง บริเวณหนองแด และบริเวณหนองขอนกว้าง

                    (3.2)    พื้นที่ด้านทิศเหนือเขตผังเมืองรวมฯ ได้แก่ โครงข่ายพื้นที่โล่งว่างบริเวณห้วยหลวง บริเวณหนองบ่อกง และบริเวณบึงสังข์

                    (3.3)    พื้นที่ด้านทิศตะวันออกเขตผังเมืองรวมฯ ได้แก่ โครงข่ายพื้นที่โล่งว่างบริเวณพื้นที่แหล่งน้ำหลักบริเวณห้วยหลวง ห้วยเชียงรวง หนองนาหล่ำ อ่างเก็บน้ำหนองตะไก้ และหนองผักบุ้ง

                    (3.4)    พื้นที่ด้านทิศใต้เขตผังเมืองรวมฯ ได้แก่ โครงข่ายพื้นที่โล่งว่างบริเวณอ่างเก็บน้ำบ้านจั่น – หนองขอนกว้าง บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยสามพาด บริเวณหนองนาตาล และหนองหมากเห็บ

                    (3.5)    พื้นที่ด้านทิศตะวันตกเขตผังเมืองรวมฯ ได้แก่ โครงข่ายพื้นที่โล่งว่างบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง บริเวณห้วยหลวง บริเวณอ่างเก็บน้ำกุดลิงง้อ และบริเวณหนองดุม

               (4) พัฒนาพื้นที่โล่งว่างให้สอดคล้องกับแนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบเมือง เพื่อให้รองรับการขยายตัวของประชากรและกิจกรรมในอนาคต การพัฒนาสภาพแวดล้อม และการควบคุมการขยายตัวของพื้นที่เมืองและกิจกรรมต่างๆ ในเขตผังเมืองรวมฯ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สภาพแวดล้อม และการป้องกันผลกระทบระหว่างพื้นที่กิจกรรมชุมชนและการตั้งถิ่นฐานกับสภาพแวดล้อม สอดคล้องกับแนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบเมืองที่กำหนด ประกอบด้วย

                    (4.1)    พัฒนาพื้นที่โล่งว่างให้เหมาะสมกับขนาดประชากรและบทบาทหน้าที่ของเมืองและชุมชนต่างๆ ในอนาคต โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงและพัฒนาสวนสาธารณะและพื้นที่นันทนาการปัจจุบันให้สอดคล้องกับขนาดประชากรในอนาคต ได้แก่ สวนสาธารณะจำนวน 10 แห่ง สนามกีฬาและลานกีฬาจำนวน 102 แห่ง (ดูหัวข้อที่ 5.12.5 ประกอบ)

                    (4.2)    ส่งเสริมการรักษาพื้นที่โล่งว่างเพื่อรักษาขอบเขตเมืองและชุมชน (Green Belt) และรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยมุ่งเน้นพื้นที่แนวแหล่งน้ำและพื้นที่เกษตรกรรมรอบเขตเมืองและชุมชน

                    (4.3)    ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่โล่งว่างเพื่อป้องกันผลกระทบระหว่างกิจกรรม โดยเฉพาะพื้นที่แนวกันชน (Buffer Zone) และแนวป้องกัน (Protection Strip) โดยเฉพาะย่านอุตสาหกรรม กิจการสาธารณูปโภคเพื่อกำจัดขยะและของเสีย และแหล่งกำเนิดมลพิษในเขตผังเมืองรวมฯ

                    (4.4)    การรักษาพื้นที่โล่งว่างเพื่อการบริหารจัดการแหล่งทรัพยากรต้นทุนและป้องกันบรรเทาภัยพิบัติโดยไม่ใช้โครงสร้าง โดยเฉพาะการเก็บกักน้ำ การหน่วงและชะลอน้ำ และการบริหารจัดการของเสียชุมชน

               (5) พัฒนามาตรการจูงใจให้เกิดการพัฒนาและสงวนรักษาพื้นที่โล่งว่าง ประกอบด้วย

                    (1) มาตรการทางผังเมือง ได้แก่ การเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่แปลงที่ดิน (FAR Bonus) สำหรับการพัฒนาพื้นที่โล่งว่างเพิ่มเติมจากที่กำหนดตามกฎหมายหรือการจัดพื้นที่โล่งว่างเพื่อประโยชน์สาธารณะ

                    (2) มาตรการทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน ได้แก่ การลดหย่อนหรือยกเว้นการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับพื้นที่โล่งว่างที่จัดไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ

          5)  แนวคิดด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการสาธารณะ     

               ในการวางแผนการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ เพื่อการพัฒนาเมืองและรองรับความต้องการใช้บริการของประชาชนทั้งในปัจจุบันและอนาคต ต้องมีความสอดคล้องกับแผนผังแสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน และระบบโครงข่ายการคมนาคมและขนส่ง เพื่อให้การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่างๆ สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวก ทั่วถึง สร้างความเป็นธรรมต่อทุกคนในสังคม และสามารถรองรับการขยายตัวของประชากรและเมืองได้ในอนาคต รวมทั้งสามารถอนุรักษ์และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และมีมาตรฐานตลอดจนสอดคล้องกับแผนนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีแนวทางเบื้องต้นในการพัฒนาระบบดังกล่าว ดังนี้

               1)   เพื่อจัดหาแหล่งวัตถุดิบในกระบวนการการให้บริการระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการแต่ละรายสาขาที่ได้คุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการ

               2)   เพื่อให้เกิดคุณภาพและมาตรฐานของการให้บริการระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่มั่นคงและเชื่อถือได้

               3)   การสร้างการเข้าถึงและความเป็นธรรมในการได้รับบริการระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอย่างทั่วถึงและสอดคล้องกับการกระจายตัวและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

               4)   การดำเนินการประสานแผนการก่อสร้าง การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่างๆ ที่จำเป็น เช่น ระบบประปา การจัดการน้ำเสีย ขยะมูลฝอย และสวนสาธารณะ ในส่วนที่ยังขาดอยู่ให้ครบถ้วน เต็มพื้นที่ และให้ได้มาตรฐาน สามารถไปพร้อมกับการคำนึงถึงการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

               5)   การรักษาสภาพการใช้งาน การปรับปรุงซ่อมแซมระบบระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่มีอยู่ให้มีสภาพที่สมบูรณ์ใช้การได้ดี มีประสิทธิภาพ เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มที่

          6)  แนวคิดด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                     แนวคิดการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี (ปรับปรุงครั้งที่ 3) มุ่งเน้นให้เป็นต้นทุนที่สำคัญในการพัฒนาชุมชนและกิจกรรมเพื่อความมั่นคงและยั่งยืน ทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและชุมชนอย่างทั่วถึง และสร้างความสมดุลของสภาพแวดล้อมและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ เขตผังเมืองรวมฯ ได้ โดยกำหนดแนวคิดการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในเขตผังเมืองรวมฯ ดังนี้

               (1) จำแนกและกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์แหล่งทรัพยากรที่สำคัญ โดยสอดคล้องกับคุณค่า ศักยภาพ และประโยชน์ที่จะได้รับอย่างทั่วถึงและยั่งยืนบนหลักวิชาการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมาตรการป้องกันผลกระทบจากการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อแหล่งทรัพยากรฯ ประกอบด้วย

                    (1) แหล่งทรัพยากรฯ เพื่อการสงวนรักษา ได้แก่ แหล่งทรัพยากรป่าไม้และเขตอนุรักษ์ป่าไม้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แหล่งโบราณสถานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และแหล่งทรัพยากรแร่เพื่อการอนุรักษ์ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่

                    (2) แหล่งทรัพยากรเพื่อการอนุรักษ์ ได้แก่ แหล่งน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับท้องถิ่น และย่านชุมชนเก่าหรือแหล่งประวัติศาสตร์วัฒนธรรมท้องถิ่น

                    (3) แหล่งทรัพยากรเพื่อการพัฒนา ได้แก่ พื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และแหล่งทรัพยากรแร่เพื่อการพัฒนาตามแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่

               (2) ฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้และแหล่งน้ำที่เสื่อมโทรม โดยมุ่งเน้นมาตรการฟื้นฟูสภาพธรรมชาติให้กลับคืนสภาพเดิมและสมบูรณ์ ควบคู่กับการป้องกันการรุกล้ำและควบคุมการใช้ประโยชน์อย่างเข้มงวด

               (3) การอนุรักษ์พื้นที่ทรัพยากรป่าไม้และแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัด เพื่อรักษาสมดุลและเป็นทรัพยากรต้นทุนที่สำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยกำหนดมาตรการควบคุมกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวและบริเวณโดยรอบอย่างเข้มงวด

               (4) ส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งมรดกทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะแหล่งโบราณสถาน พื้นที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สังคม ศิลปวัฒนธรรม พื้นที่เศรษฐกิจชุมชน (วิสาหกิจชุมชน) ที่มีเอกลักษณ์ เป็นต้น โดยการกำหนดขอบเขตและมาตรการที่มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนกำหนดมาตรการคุ้มครองและใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับศักยภาพและความต้องการของประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ

               (5) ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมร่วมกับพื้นที่ข้างเคียงภายใต้บริบทและสภาพทางกายภาพที่มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยง เพื่อประสิทธิภาพในการอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งทรัพยากร ได้แก่ พื้นที่ป่าไม้ต่างๆ แหล่งน้ำสำคัญ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง ห้วยหลวง และห้วยสามพาด

          7)  แนวคิดด้านการป้องกันอุทกภัย

     แนวคิดด้านการป้องกันอุทกภัยของพื้นที่ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานีนั้น เปนการนําผลการศึกษาวิเคราะหพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยที่คาบอุบัติซ้ำ 2-100 ป ทั้งในกรณีสภาพปจจุบันและกรณีมีแผนปองกันและบรรเทาอุทกภัยของหนวยงาน รวมกับการวิเคราะหสภาพกายภาพของพื้นที่ลุมน้ำในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและพื้นที่ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี การใชประโยชนที่ดินและกิจกรรมตางๆ สาเหตุและลักษณะการเกิดของอุทกภัย เพื่อจัดทําแผนผังแสดงผังน้ำ ทั้งมาตรการใชสิ่งกอสรางและไมใชสิ่งกอสราง

               ทั้งนี้การจัดทํามาตรการปองกันและบรรเทาปญหาอุทกภัยในพื้นที่ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี เปนการนํามาตรการใชสิ่งกอสรางและมาตรการไมใชสิ่งกอสราง มาประยุกตใหเหมาะสมกับลักษณะเชิงพื้นที่ลุมน้ำ ซึ่งแบงออกเปน 3 สวน ไดแก พื้นที่ตนน้ำ พื้นที่กลางน้ำ และพื้นที่ปลายน้ำ โดยมีรายละเอียดดังนี้

               (1) พื้นที่ตนน้ำ คือ พื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศเปนภูเขาและทรัพยากรปาไม เปนแหลงกำเนิดตนน้ำลําธาร การบริหารจัดการน้ำหลากในพื้นที่ตนน้ำจะใหความสําคัญกับการดูดซับน้ำและชะลอความเร็วของน้ำ ไมใหไหลหลากอยางรุนแรงสูพื้นที่ทายน้ำ

               (2) พื้นที่กลางน้ำ เปนพื้นที่ตอเนื่องจากพื้นที่ตนน้ำ ซึ่งเปนแหลงรองรับน้ำหลากจํานวนมากที่ไหลมาจากพื้นที่ตนน้ำ และเปนพื้นที่กันชน (Buffer Zone) ในการชะลอน้ำหลาก เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่ปลายน้ำ ลักษณะการใชประโยชนที่ดินสวนใหญในบริเวณนี้เปนพื้นที่เกษตรกรรมและชุมชนชนบท ซึ่งมีความลาดเทของพื้นที่คอนขางสูง สงผลใหน้ำไหลหลากทวมอยางรวดเร็ว ทั้งนี้ระดับน้ำจะลดระดับลงในเวลาไมกี่วัน จนกวาจะมีเหตุการณฝนตกหนักในบริเวณพื้นที่กลางน้ำ และบริเวณพื้นที่ ตนน้ำอีกครั้ง

               (3) พื้นที่ปลายน้ำ สวนใหญมีลักษณะเปนที่ราบ มีความลาดชันนอยหรือเปนแองที่ลุมต่ำน้ำทวมขัง ซึ่งเปนที่ตั้งของพื้นที่เศรษฐกิจสําคัญและชุมชนเมือง พื้นที่บริเวณนี้เปนแหลงที่น้ำหลากทั้งหมดของลุมน้ำจะไหลหลากผานกอนลงสูแม่น้ำโขง ดังนั้นเพื่อปองกันและบรรเทาผลกระทบ/ความเสียหายจากอุทกภัย จึงควรมีการปรับปรุงขีดความสามารถของทางน้ำธรรมชาติดวยการสรางคันริมตลิ่ง พรอมทั้งมีการขุดลอกรองน้ำเพื่อใหระบายน้ำไดสะดวก จัดใหมีคันปดลอมพื้นที่เปาหมายสําคัญ และสรางประตูระบายน้ำปากลําน้ำสาขา สถานีสูบน้ำที่จุดบรรจบแมน้ำโขง

          8)  แนวคิดโครงการพัฒนาตามผัง

                    แนวคิดโครงการพัฒนาตามผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี กำหนดหลักการเบื้องต้นของโครงการพัฒนาตามผังต้องตอบสนองต่อทิศทางการพัฒนาเขตผังเมืองรวมฯ ตามวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ และการนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่กำหนด ทั้งนี้ จากผังแนวคิดเบื้องต้น ประกอบกับนโยบายแผนงานโครงการสำคัญ และกรณีศึกษาตัวอย่างแนวทาง การพัฒนาเมืองและชุมชน แสดงให้เห็นความสำคัญของการชี้นำการพัฒนาตามผังเมืองเพื่อให้เกิดความสอดคล้องทั้งในเชิงพื้นที่ และกลไกการนำไปสู่การปฏิบัติโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยการผนวกแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินเป้าหมายลงสู่แผนผังด้านต่างๆ และการกำหนดมาตรการและวิธีดำเนินการที่มีกลไกสนับสนุนการพัฒนาโครงการดังกล่าว

               ในเบื้องต้น แนวคิดการวางผังเมืองรวมฯ มุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพรองรับบทบาทและศักยภาพในระดับนานาชาติ ควบคู่กับการขยายโอกาสการพัฒนาในมิติต่างๆ จากนโยบาย แผนงานโครงการขนาดใหญ่ที่สำคัญในอนาคตของพื้นที่ ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ผังเมืองรวมที่สำคัญ และเมื่อพิจารณาแนวคิดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระบบเมืองและชุมชน และการคมนาคมและขนส่งของเขตผังเมืองรวมฯ พบว่า โครงการพัฒนาตามผังที่สำคัญ 3 โครงการและแนวคิดของโครงการดังกล่าว มีรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้

                  (1)     แนวคิดด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน : การพัฒนาพื้นที่พัฒนารอบสถานีขนส่งมวลชน
                       (TOD) บริเวณสถานีรถไฟอุดรธานีปัจจุบัน

                       เหตุผลความจำเป็น

                       การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเมืองอุดรธานีในอนาคตมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปัจจัยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมเดินทาง โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีศักยภาพการเชื่อมโยงการเดินทางระหว่างเขตผังเมืองรวมฯ กับพื้นที่การค้าชายแดนและสปป.ลาว รวมถึงกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ได้อย่างรวดเร็วและไร้รอยต่อภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในอนาคต ประกอบกับพื้นที่เขตเมืองชั้นในของเทศบาลนครอุดรธานีในปัจจุบัน ประสบปัญหาการขยายตัวและใช้ประโยชน์ที่ดินหนาแน่นขึ้น ในขณะที่ระบบโครงสร้างพื้นฐานมีแนวโน้มไม่เพียงพอและจะก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มขึ้นได้ในระยะยาว ทั้งนี้ การใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณรอบสถานีรถไฟความเร็วสูงอุดรธานีจึงจำเป็นต้องได้รับการวางแผนและเตรียมการอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถชี้นำกรอบการใช้ประโยชน์ที่ดินในรายละเอียด มาตรการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งเส้นทางถนน ระบบเชื่อมต่อการเดินทาง สาธารณูปโภค และสภาพแวดล้อมของย่านดังกล่าว

                       แนวคิดการพัฒนาโครงการ

                       (1) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน

                       (2) กำหนดมาตรการจูงใจและสนับสนุนการพัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ

                       (3) พัฒนาระบบการเชื่อมต่อการเดินทางกับสถานีรถไฟความเร็วสูง โดยการเดินเท้า และจักรยาน และระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) เป็นหลัก

                       (4) บริหารจัดการระบบคมนาคมขนส่งและเส้นทางเพื่อลดการใช้ยานพาหนะส่วนบุคคล และสนับสนุนการเข้าถึงสถานีฯ อย่างมีประสิทธิภาพ

                       (5) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและองค์ประกอบเพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน

                       (6) ความเป็นไปได้และแนวทางการพัฒนาโครงการภายใต้กฎหมายและระเบียบต่างๆ ในปัจจุบัน และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

(2)      แนวคิดด้านระบบเมืองและชุมชน : การพัฒนาเมืองศูนย์กลางรองด้านการศึกษาและ                     สาธารณสุขขั้นสูง บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว

                    เหตุผลความจำเป็น

                    จากศักยภาพการเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน และการพัฒนาโครงการโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์พระบรมราชชนก อุดรธานี ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2565 – 2569 นั้น ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวมีแนวโน้มการขยายตัวของประชากรและกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ การเป็นศูนย์กลางสำคัญด้านการศึกษาและการแพทย์ขั้นสูงส่งผลต่อความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินและปริมาณการเดินทางเข้า – ออกพื้นที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เกิดปัญหาความขัดแย้งจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน ระบบจราจรติดขัด โครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ และความเสี่ยงต่อภัยพิบัติในพื้นที่เพิ่มขึ้น จากสถานการณ์และแนวโน้มดังกล่าว การเร่งรัดดำเนินการวางแผนพัฒนาพื้นที่ศูนย์กลางกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวมีความสำคัญต่อการพัฒนาบทบาทของพื้นที่ในด้านการศึกษาและสาธารณสุขขั้นสูง โดยคำนึงถึงความสามารถในการรองรับประชากรและกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และบริการสาธารณะที่เพียงพอและได้มาตรฐานสำหรับกลุ่มประชากรเป้าหมายของพื้นที่ในอนาคต

                    แนวคิดการพัฒนาโครงการ

                    แนวคิดการพัฒนาพื้นที่ศูนย์กลางกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว มุ่งเน้นแนวคิดหลักดังนี้

                    (1)  การพัฒนาเมืองแบบกระชับ (Compact City) โดยคำนึงถึงลักษณะเชิงกายภาพ ความเสี่ยง และโครงสร้างพื้นฐาน

                    (2)  การกำหนดย่านการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีศักยภาพและเพียงพอ รวมถึงสอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และความเสี่ยงจากภัยพิบัติต่างๆ

                    (3)  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและองค์ประกอบเพื่อรองรับการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน

                    (4)  ความเป็นไปได้และแนวทางการพัฒนาโครงการภายใต้กฎหมายและระเบียบต่างๆ ในปัจจุบัน และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

               (3) แนวคิดด้านการคมนาคมและขนส่ง : การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะบริเวณ

                    ศูนย์กลางหลัก พื้นที่ต่อเนื่อง และแหล่งกำเนิดกิจกรรมสำคัญ

                    เหตุผลความจำเป็น

                    พื้นที่ผังเมืองรวมเมืองอุดรธานีมีพื้นที่บริเวณศูนย์กลางหลักที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินหนาแน่นบริเวณเทศบาลนครอุดรธานีที่มีข้อจำกัดในการพัฒนาระบบถนนโครงข่าย มีพื้นที่พัฒนาต่อเนื่องที่ขยายตัวออกมาจากบริเวณศูนย์กลางหลักบริเวณเทศบาลเมืองหนองสำโรง เทศบาลตำบลหนองบัว เทศบาลตำบลหนองขอนกว้าง และมีพื้นที่แหล่งกำเนิดกิจกรรมสำคัญที่ปริมาณการเดินทางมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบด้วย บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าว (เป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ สนามกีฬา สถาบันราชการ) อยู่ใกล้กับบริเวณที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีและพื้นที่พัฒนาด้านโลจิสติกส์โดยรอบ การเดินทางของประชาชนส่วนใหญ่ใช้รถส่วนบุคคลเป็นหลัก ทำให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการเดินทาง การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้ได้มาตรฐานสากลทั้งเส้นทาง พาหนะ และพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง เพื่อให้เป็นทางเลือกในการเดินทางของประชาชน จะสามารถลดปริมาณพาหนะส่วนบุคคลลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้เกิดการเดินทางได้อย่างยั่งยืน

                    แนวคิดการพัฒนาโครงการ

                    แนวคิดการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะสามารถพัฒนาได้ทั้งระบบสาธารณะบนถนนโครงข่ายและระบบสาธารณะทางราง ดังแนวคิดต่อไปนี้

                    (1)  การส่งเสริมคุณภาพในการให้บริการของรถสาธารณะในปัจจุบัน เพื่อให้เป็นเส้นทางหลักในการให้บริการในเขตเทศบาลนครอุดรธานีและพื้นที่ต่อเนื่อง โดยต้องมีการศึกษาความเหมาะสมในการปรับปรุงเส้นทาง พาหนะ และพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระดับที่สามารถดึงดูดให้ประชาชนเลือกใช้บริการ

                    (2)  การพัฒนารถสาธารณะมาตรฐานสากลให้สามารถเชื่อมต่อสถานีรถไฟอุดรธานี – สถานีขนส่งผู้โดยสารอุดรธานี – ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเมืองกับการเดินทางภายในเมืองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

                        (3)   การส่งเสริมการเดินรถไฟระยะสั้นระหว่าง สถานีรถไฟอุดรธานี – สถานีรถไฟหนองขอนกว้าง – สถานีรถไฟหนองตะไก้ เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางจากบริเวณศูนย์กลางหลักกับพื้นที่แหล่งงานแห่งใหม่บริเวณนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานีและพื้นที่ต่อเนื่อง นอกจากนั้นในช่วงที่มีการจัดโครงการมหกรรมพืชสวนโลก สามารถเพิ่มที่หยุดรถบริเวณหนองแดก็ทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางได้มากขึ้น สร้างบรรยากาศการเดินทางที่เป็นมาตรฐานสากล

                    (4)  การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อเชื่อมต่อบริเวณศูนย์กลางหลักกับพื้นที่บริเวณองค์การบริหารส่วนตำบลสามพร้าวให้มีความสะดวก รวดเร็ว มีการบริการระดับมาตรฐานสากล เพื่อลดการใช้พาหนะส่วนบุคคลบริเวณพื้นที่มีโอกาสพัฒนาด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบหนาแน่น                               (5)       การพัฒนาพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง เพื่อให้เป็นที่จอดพาหนะเพื่อใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะในรูปแบบ Park and Ride และการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง พื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการเดินทางควรตั้งอยู่ตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 216 (ถนนเลี่ยงเมืองอุดรธานี) เพื่อรองรับพาหนะที่มาจากศูนย์กลางรองและพื้นที่โดยรอบ ลดปริมาณพาหนะที่ต้องการเข้าสู่พื้นที่ศูนย์กลางหลัก