ขั้นตอนการดำเนินการโครงการ

          1.   การสำรวจ กำหนดเขตผัง วิเคราะห์ และจัดทำร่างผังเมืองรวม (มาตรา 22 และ มาตรา 23)

               –    ประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ และรับทราบนโยบายการพัฒนาพื้นที่

               –    ประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 (เกี่ยวกับศักยภาพ ปัญหา ข้อจำกัด ความต้องการ และแนวทางการพัฒนาพื้นที่)

               –    ประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 2 (เกี่ยวกับแนวคิดและผังทางเลือกในการวางและจัดทำผังเมืองรวม)

               –    ประชุมกลุ่มย่อย ครั้งที่ 3 (เกี่ยวกับร่างผังเมืองรวมฯ)

          2.   การประชุมเพื่อพิจารณาร่างผังเมืองรวม

          3.   การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (มาตรา 9)

          4.   การประชุมคณะกรรมการผังเมือง (มาตรา 26)

          5.   การปิดประกาศพร้อมข้อกำหนด (มาตรา 29)

          6.   การรวบรวม ตรวจสอบ พิจารณาคำร้อง และแจ้งผลการพิจารณาคำร้อง (มาตรา 30 และ มาตรา 31)

          7.   การจัดทำเอกสารประกอบการยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย

          8.   การเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มาตรา 32 และ 33)

          การวางและจัดทำผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี จะเป็นกรอบชี้นำการพัฒนาทางด้านกายภาพในระดับเมืองและระดับจังหวัด จัดทำขึ้นเป็นแผนผัง นโยบาย และโครงการ รวมทั้งมาตรการที่ใช้เป็นแนวทางในการควบคุมและแนวทางในการพัฒนาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างหรือพัฒนาเมืองให้มีหรือทำให้ดียิ่งขึ้นซึ่งสุขลักษณะความสะดวกสบาย ความเป็นระเบียบ ความสวยงาม การใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง ความปลอดภัยของประชาชน สวัสดิภาพของสังคม การป้องกันภัยพิบัติ และการป้องกันความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม เพื่อดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์หรือมีคุณค่าในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี หรือบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศที่งดงามหรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติต่อไป